การจัดการเรียนการสอนสำหรับนักเรียนพิการเรียนรวม แบบ ตั้งใจ ๕ จีร์ ตามแนวทาง “เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา”
แบบรายงานนวัตกรรม/วิธีการปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practice)
ประเภทของนวัตกรรม ด้านการจัดการเรียนการสอนสำหรับนักเรียนพิการเรียนรวม
ชื่อวิธีการปฏิบัติที่เป็นเลิศ การจัดการเรียนการสอนสำหรับนักเรียนพิการเรียนรวม แบบ ตั้งใจ ๕ จีร์ ตามแนวทาง “เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา”
ชื่อ – สกุล ผู้บริหาร นายชนะศึก จินดาศรี ตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนตั้งใจวิทยาคมจำนวนครูทั้งหมด ๑๖ คน จำนวนนักเรียนทั้งหมด ๑๘๑ คน
๑.ความสำคัญของนวัตกรรม/วิธีการปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practice)
โรงเรียนตั้งใจวิทยาคม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต ๓๓ เป็นโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดเล็ก ที่เปิดทำการสอน นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑ – ๖ โดยเปิดรับบริการนักเรียนทุกคนอย่างเสมอภาค มีนักเรียนพิการที่มีความจำเป็นพิเศษทางการศึกษาเรียนรวมดังนี้ คือ ปีการศึกษา ๒๕๖๓ จำนวน ๑๖ คน และโรงเรียนได้ดำเนินการจัดการเรียนการสอนตามความสามารถ ความจำเป็นพิเศษของแต่ละบุคคล ซึ่งสอดคล้องและสนองยุทธศาสตร์/นโยบาย สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ตามยุทธศาสตร์ที่ ๒ ทำให้ประสบความสำเร็จบังเกิดผลดี ได้รับการยอมรับในระดับต่าง ๆ ตั้งแต่ระดับเขตพื้นที่การศึกษา จนถึงระดับชาติ เป็นแบบอย่างแก่สถานศึกษาอื่น ๆได้ ปีการศึกษา ๒๕๕๔ โรงเรียนตั้งใจวิทยาคมได้รับคัดเลือกจากสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต ๓๓ ให้เป็นต้นแบบการเรียนรวม และได้ดำเนินการจัดกิจกรรมพัฒนานักเรียนพิการที่มีความจำเป็นพิเศษทางการศึกษาดังกล่าวอย่างต่อเนื่อง ซึ่งนับว่าเป็นการปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practice) ของโรงเรียนตั้งใจวิทยาคม
การแสดงแนวคิดทฤษฎีหลักการที่นำมาใช้ในการพัฒนา Best Practice
การจัดการเรียนการสอนสำหรับนักเรียนพิการเรียนรวมตามโครงสร้างซีท (SEAT Framework)
ด้านนักเรียน (S: Students)เด็กที่มีความต้องการพิเศษได้มีส่วนร่วมในกิจกรรม โดยเด็กปกติคอยช่วยเหลือดูแลแบบเพื่อนช่วยเพื่อน ทำให้นักเรียนที่มีความต้องการพิเศษมีพัฒนาการด้านต่าง ๆดีขึ้น สามารถเรียนร่วมในห้องเรียนปกติได้สภาพโรงเรียนเหมาะสมเอื้อต่อการพัฒนาผู้เรียน บรรยากาศห้องเรียนให้ลดข้อจำกัดของผู้เรียนโดยมีมุม ต่าง ๆ ในการทำกิจกรรม ได้รับความช่วยเหลือร่วมมือดูแลเอาใจใส่จากครูผู้สอน ครูชั้นเรียนปกติตลอดทั้ง บุคลากรและองค์กรต่าง ๆในชุมชนนักเรียนพิการเรียนร่วมมีความพร้อมทางด้านร่างกายและจิตใจต่างจากนักเรียนทั่วไป ทางโรงเรียนเกิดความตระหนักถึงการให้ความช่วยเหลือเด็กพิการ เป็นการสร้างคุณธรรมและจริยธรรมให้กับนักเรียน เป็นที่พึงพอใจของนักเรียน ผู้ปกครอง และผู้ที่เกี่ยวข้องโดยมีวิธีการดำเนินการ ดังนี้
๑) เตรียมความพร้อมนักเรียนที่มีความบกพร่อง ดังนี้
๑.๑)เตรียมคัดแยกประเภทความพิการ
๑.๒)ประเมินพื้นฐานความพร้อมของนักเรียน
๑.๓)วางแผนการศึกษาเฉพาะบุคคล ( IEP )
๑.๔)จัดทำแผนการสอนรายบุคคล ( IIP )
๑.๕)ดำเนินการพัฒนาเด็กตามแผนการสอนรายบุคคล
๒) เตรียมความพร้อมนักเรียนทั่วไปหรือนักเรียนปกติ ดังนี้
๒.๑) จัดประชุมนักเรียนปกติทั่วไปให้มีความรู้ ความเข้าใจ ยอมรับความบกพร่อง
ของนักเรียนพิการ รู้จักช่วยเหลือและปฏิบัติต่อนักเรียนพิการอย่างถูกวิธี
๒.๒) จัดอบรมนักเรียนปกติทั่วไป รู้จักให้ความช่วยเหลือ ให้มีความรู้ ความเข้าใจ
และยอมรับความบกพร่องของนักเรียนพิการและปฏิบัติต่อนักเรียนที่พิการอย่างถูกวิธี
ด้านสิ่งแวดล้อม (E : Environment)
๑) สภาพแวดล้อมทางกายภาพ
โรงเรียนจัดให้นักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้สามารถเรียนในสภาพแวดล้อมที่มีอุปสรรคน้อยที่สุด และจัดให้นักเรียนที่มีความบกพร่องใช้สถานที่ สิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ เข้าถึงได้อย่างสะดวกและปลอดภัยมีบรรยากาศที่น่าสนใจ มีสื่อที่หลากหลายและมีสีสันสวยงามที่สามารถดึงดูดความน่าสนใจ จัดให้นักเรียนเรียนร่วมเรียนกับเพื่อนในชั้นเรียนปกติ และจัดให้มีห้องเรียนสำหรับนักเรียนที่บกพร่องทางการเรียนรู้
๒) บุคคลที่เกี่ยวข้อง
แต่งตั้งคณะกรรมการจัดการเรียนร่วมประจำโรงเรียนเพื่อกำหนดนโยบายและ แนวทางการดำเนินงานในการจัดการเรียนร่วมประชุมชี้แจงนโยบายของโรงเรียนและมอบหมายงานประชาสัมพันธ์ให้บุคคลที่เกี่ยวข้องรับทราบเพื่อกำหนดนโยบาย แนวทางการดำเนินงาน บทบาทของบุคลากรและรูปแบบการจัดการเรียนรวม สร้างความเข้าใจบทบาทหน้าที่ของตนเอง ได้แก่ ครู นักเรียน ผู้ปกครอง ชุมชน บุคลากรในโรงเรียนบุคคลเหล่านี้ถือว่ามีความสำคัญต่อเด็ก ซึ่งต้องได้เข้าใจในการจัดการศึกษาเรียนรวมโดยมีผู้บริหารโรงเรียนบอกเล่าให้บุคคลเหล่านี้เข้าใจ
ด้านกิจกรรมการเรียนการสอน (A : Activities)
๑) ได้ดำเนินการจัดทำหลักสูตร โดยยึดหลักสูตรสถานศึกษาเป็นหลัก และนำมาปรับให้
เหมาะสมกับนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้
๒) นำผลการคัดกรองเด็กพิการเรียนร่วมจัดทำแผนการศึกษาเฉพาะบุคคล(IEP)โดยแต่งตั้ง
คณะกรรมการในการจัดทำแผนซึ่งมีบุคลากรที่เกี่ยวข้อง ดังนี้
๒.๑)ผู้บริหารโรงเรียน
๒.๒)ครูฝ่ายวิชาการ
๒.๓)ผู้ปกครองนักเรียน
๒.๔)ครูประจำชั้น
๒.๕)ครูการศึกษาพิเศษของโรงเรียน
๒.๖)นักเรียน
๓) จัดทำแผนการสอนรายบุคคล(IIP)เพื่อใช้ในการพัฒนานักเรียนให้มีความพร้อม และ
ปรับปรุงการเรียนการ สอน ให้นักเรียนได้เรียนรู้ตามศักยภาพของตนเอง
๔) จัดทำโครงการกิจกรรมเพื่อพัฒนานักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ การตรวจสอบการรายงานความก้าวหน้าของนักเรียนการจัดกิจกรรมการสอนเสริมนอกเวลาเรียนปกติ การประกันคุณภาพการรับนักเรียนพิการหรือที่มีความบกพร่องเข้าเรียนการจัดตารางเรียนการประสานความร่วมมือ และการนิเทศ ติดตาม ประเมินผล และปรับปรุงงาน
ด้านเครื่องมือ (T = Tools)
โรงเรียนได้ส่งเสริมสนับสนุนให้มีการจัดสร้างสื่อนวัตกรรมทางการศึกษาให้เหมาะสมกับนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ โดยเน้นให้ครูผู้สอนเห็นความสำเร็จของสื่อนวัตกรรมที่เหมาะสมกับผู้เรียนโดยโรงเรียนมีการบริหารจัดการศึกษา ดังนี้
๑) นโยบาย/วิสัยทัศน์/พันธกิจ
๒) ระบบการบริหารจัดการ
๓) เทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวก
๔) สื่อนวัตกรรม
๕) ตำรา
6) ครูการศึกษาพิเศษและนักวิชาชีพอื่น
๗) งบประมาณ
๘) สิ่งอำนวยความสะดวก
๙) บริการ
๑๐) ความช่วยเหลืออื่น ๆ
๒. วัตถุประสงค์และเป้าหมายของการดำเนินงาน
๒.๑ วัตถุประสงค์
๒.๑.๑ เพื่อดำเนินการจัดการเรียนการสอนนักเรียนพิการเรียนรวม ให้มีประสิทธิภาพ เกิดทักษะที่สำคัญแก่นักเรียนพิการเรียนรวม มีทักษะชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข
๒.๑.๒ เพื่อส่งเสริมศักยภาพและพัฒนาครูให้สามารถคิดค้นกระบวนการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน สื่อนวัตกรรมนำไปใช้พัฒนาผู้เรียนอย่างมีประสิทธิภาพ
๒.๑.๓ เพื่อศึกษาความพึงพอใจการบริหารงานสถานศึกษาที่จัดการเรียนรวมของ ครู นักเรียน ผู้ปกครอง คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน
๒.๒ เป้าหมาย ๑. เชิงปริมาณ คือ นักเรียนโรงเรียนตั้งใจวิทยาคมจำนวน ๑๘๑ คน กลุ่มเป้าหมาย คือ นักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้/พิการ จำนวน ๑๔ คน ๒. ประชากรกลุ่มผู้ปฏิบัติงานคือ ครูประจำการจำนวน ๑๖ คน จำนวนครูที่สอนเด็กพิการเรียนรวม จำนวน ๔ คน ๓. เชิงคุณภาพ นักเรียนบกพร่องทางการเรียนรู้/ พิการ จำนวน ๑๔ คน สามารถอ่านออก เขียนได้ และสามารถปรับตัวอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข
๓.ขั้นตอนการดำเนินงาน
การจัดการเรียนการสอนสำหรับนักเรียนพิการเรียนรวม โดยใช้วิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศ แบบตั้งใจ ๕จีร์ ตามแนวทาง “ เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา”
เข้าใจ คือ ๑.ศึกษาเรียนรู้โครงสร้างการจัดการเรียนการสอนสำหรับนักเรียนเรียนรวมตามหลักทฤษฎี แนวคิด วิธีการ รูปแบบการจัดการเรียนการสอนสำหรับนักเรียนเรียนรวม
๒. วิเคราะห์ศักยภาพของโรงเรียน บริบท บุคลากร งบประมาณ สิ่งแวดล้อม
๓. วางแผน กำหนดเป้าหมาย กลยุทธ์ จัดทำแผนงาน / โครงการ/กิจกรรม
๔. สร้างความเข้าใจกับครู นักเรียน ผู้ปกครอง คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน
เข้าถึง คือ ๑.แต่งตั้งคณะกรรมการขับเคลื่อนการจัดการเรียนการสอนสำหรับนักเรียนรวม ประชุมผู้เกี่ยวข้อง มอบหมายภาระหน้าที่ โดยบูรณาการหลัก ทฤษฎีการต่าง ๆ มาประยุกต์ใช้ ๒. ดำเนินการจัดการเรียนการสอนสำหรับนักเรียนพิการเรียนรวม แบบ ตั้งใจ ๕จีร์ Model ภายใต้กรอบ โครงสร้าง SEAT ตามแนวทาง เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา ๓. นิเทศ กำกับ ติดตาม ๔. การทบทวนหลังปฏิบัติ พัฒนา คือ ๑. ตรวจสอบและประเมินผล ปรับปรุง แก้ไข ๒. ส่งเสริมพัฒนาสู่ความเป็นเลิศ ๓. จัดทำรายงานการพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาเรียนรวมประจำปีของสถานศึกษา (SAR) ๔. จัดแสดงผลงานความสำเร็จ การดำเนินการตามรูปแบบ ตั้งใจ ๕ จีร์ Model ภายใต้กรอบโครงสร้าง SEAT ตามแนวทาง “เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา” ๑. จีร์ โหรงหรีน (S : School Based Management : SBM) ๒. จีร์ สอน (T : Professional Teacher) ๓. จีร์ หรีน ( S : Student Skills ) ๔. จีร์ โซ๊ะ(S : Steak holder) ๕. จีร์ รายงาน ( R : Report and Research) ๑. จีร์ โหรงหรีน (S : School Based Management : SBM)) โรงเรียนจัดการศึกษาเรียนรวม ด้วยการสนับสนุนการจัดการศึกษาแบบเรียนรวมทุกด้าน เช่น การบริการช่วยเหลือบุคคลที่มีความจำเป็นพิเศษ การบริการด้านเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวก บริการสื่อนวัตกรรมทางการศึกษาสำหรับบุคคลที่มีความต้องการจำเป็น ๒. จีร์ สอน (T : Professional Teacher) ส่งเสริมศักยภาพและพัฒนาครูให้เป็นครูมืออาชีพมีคุณสมบัติครบตามแบบครูดี ๕ต้อง ได้แก่ ต้องเต็มใจ ต้องเต็มหลักสูตร ต้องเต็มเวลา ต้องเต็มความสามารถ ต้องก้าวทันเทคโนโลยี และครูมีกระบวนการจัดการเรียนการสอนเกี่ยวกับการเรียนรวม ๓. จีร์ หรีน ( S : Student Skills ) เน้นนักเรียนมีทักษะการอ่าน การเขียน และการคิดคำนวณ มีทักษะชีวิตและเป็นคนดีของสังคม มีคุณสมบัติครบตามแบบนักเรียน ๕ ดี ได้แก่ การเรียนดี สุขภาพดี มารยาทดี ทักษะชีวิตดี และมีความสุขดี ๔. จีร์ โซ๊ะ (S : Steak holder ) ผู้มีส่วนได้เสียในโรงเรียน คณะกรรมการสถานศึกษา ชุมชน ผู้ปกครอง องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาแบบเรียนรวม ๕. จีร์ รายงาน ( R : Report and Research) การรายงานผลความก้าวหน้า พัฒนาการของนักเรียนแต่ละคนเป็นระยะเพื่อหาจุดแข็ง จุดอ่อน จุดที่ควรพัฒนาและการวิจัยเพื่อพัฒนานักเรียนพิการเรียนรวม
การตรวจสอบคุณภาพของ Best Practice
การตรวจสอบคุณภาพการจัดการเรียนรวม ใช้การนิเทศ กำกับติดตาม สังเกตพฤติกรรม การสัมภาษณ์ แบบบันทึกพัฒนาการนักเรียน แบบบันทึกการสอนเสริมเป็นเครื่องมือในการติดตาม
ด้านนักเรียน
นักเรียนพิการเรียนรวมได้รับการช่วยเหลืออย่างเต็มกำลังความสามารถ ได้รับการพัฒนา ด้านการเขียนและการอ่าน และการคิดคำนวณ โดยใช้สื่อนวัตกรรมอย่างมีคุณภาพเหมาะสมอย่างมีความสุข นักเรียนปกติ ช่วยเหลือดูแลให้การสนับสนุนกิจกรรมการเรียนการสอนเป็นอย่างดี
ด้านครูผู้สอน
ครูทุกคนให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี ดำเนินการช่วยเหลือและดูแลนักเรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ นักเรียนสามารถเรียนรู้ตามโครงสร้างหลักสูตรสถานศึกษาเด็กพิเศษเรียนร่วมได้ตามศักยภาพและมีความสุข การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนนักเรียนพิการเรียนรวมตามแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคลร้อยละ ๑๐๐
ด้านงบประมาณ
การได้รับการช่วยเหลือและสนับสนุน ด้านงบประมาณ การผลิตสื่อนวัตกรรมการช่วยเหลือ
ในด้านปรับสภาพแวดล้อมทางกายภาพที่เหมาะสมเป็นอย่างดี
ด้านเครื่องมือ
โรงเรียนได้ส่งเสริมสนับสนุนให้มีการจัดสร้างสื่อนวัตกรรมทางการศึกษาให้เหมาะสมกับ
นักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ โดยเน้นให้ครูผู้สอนเห็นความสำเร็จของสื่อนวัตกรรมที่เหมาะสมกับผู้เรียนโดยโรงเรียนมีการบริหารจัดการศึกษา
แนวทางการนำBest Practice ไปใช้ประโยชน์
๑. นำแนวทางด้านการจัดการเรียนการสอนนักเรียนพิการเรียนรวมไปใช้พัฒนาผู้เรียนอย่างต่อเนื่อง
๒. พัฒนารูปแบบและขั้นตอน เช่น การพัฒนากระบวนการคัดกรอง โดยส่งครูผู้ปฏิบัติงานเข้ารับการอบรมคัดกรองเพื่อนามาใช้ประโยชน์ต่อนักเรียน การใช้ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพหรือ PLC เพื่อพัฒนาการเรียนรู้ทางวิชาชีพ โดยมุ่งผลสัมฤทธิ์ไปที่ผู้เรียน เพื่อให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาการเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง ผ่านการวางแผน การมีวิสัยทัศน์ร่วมกัน การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน จนเกิดเป็นวัฒนธรรม หรือชุมชนของการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในโรงเรียน
๓. เผยแพร่ผลงานให้แก่โรงเรียนในเครือข่ายโรงเรียนแกนนำจัดการเรียนรวมมาอย่างต่อเนื่อง
๔. นิทรรศการการจัดการเรียนรวมในโรงเรียน เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจแก่ นักเรียน ครู และชุมชน
๔.ผลการดำเนินงาน/ประโยชน์ที่ได้รับ
๔.๑ ผลที่เกิดกับผู้เรียน
ผลสำเร็จเชิงปริมาณ
นักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ได้รับการพัฒนา ด้านการเขียนและการอ่าน และการคิดคำนวณ โดยใช้สื่อนวัตกรรม ผ่านเกณฑ์ร้อยละ ๑๐๐%
ผลสำเร็จเชิงคุณภาพ
๑. นักเรียนพิการเรียนรวม ประเภทบกพร่องทางการเรียนรู้(LD) มีทักษะการอ่านแจกลูกสะกดคำ
๒. นักเรียนพิการเรียนรวม ประเภทบกพรรองทางการเรียนรู้(LD) มีทักษะการเขียนคำได้ถูกต้อง
๓. นักเรียนพิการเรียนรวม ประเภทบกพรรองทางการเรียนรู้(LD) มีทักษะการแต่งประโยค
๔. นักเรียนพิการเรียนรวม ประเภทบกพรรองทางการเรียนรู้(LD) มีทักษะการเขียนเรื่องราวแบบสั้นๆได้
๕. นักเรียนพิการเรียนรวมได้รับการพัฒนา สามารถปรับตัวอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข
ผลงานด้านความเป็นเลิศทางวิชาการ
๑. เด็กชายขวัญชัย ผักกูด โรงเรียนตั้งใจวิทยาคม ได้รับรางวัลระดับเหรียญทอง กิจกรรมการแข่งขันทักษะพื้นฐานด้านกีฬา (มวยสากลสมัครเล่น) ระดับชั้น ม.๑-ม.๓ งานศิลปหัตถกรรมนักเรียน ระดับชาติ ครั้งที่ ๖๙ ปีการศึกษา ๒๕๖๒ ณ จังหวัดศรีษะเกษ (อ้างอิง หน้า ๑๖)
๒. เด็กชายสรวิชญ์ อยู่ดีรัมย์ โรงเรียนตั้งใจวิทยาคม ได้รับรางวัลระดับเหรียญทอง การแข่งขันการเล่านิทานประเภทบกพร่องทางการเรียนรู้ ม.๑-ม.๓ งานศิลปหัตถกรรมนักเรียน ระดับเขตพื้นที่การศึกษา ครั้งที่ ๖๙ประจำปีการศึกษา ๒๕๖๒ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต ๓๓ (อ้างอิง หน้า ๑๖)
๓. เด็กหญิงงามตา การะภักดี โรงเรียนตั้งใจวิทยาคม ได้ รางวัลระดับเหรียญทองแดงการแข่งขันวาดภาพระบายสี ประเภทบกพร่องทางการเรียนรู้ ม.๑-ม.๓งานศิลปหัตถกรรมนักเรียน ระดับภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ครั้งที่ ๖๗ประจำปีการศึกษา ๒๕๖๐ (อ้างอิง หน้า ๑๖)
๔. เด็กชาย ศิวกร กันทวงษ์รางวัล ระดับเหรียญเงิน การแข่งขันการการเล่านิทาน ประเภทบกพร่องทางการเรียนรู้ ม.๑-ม.๓งานศิลปหัตถกรรมนักเรียน ระดับเขตพื้นที่การศึกษา ครั้งที่ ๖๗ ประจำปีการศึกษา ๒๕๖๐ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต ๓๓ (อ้างอิง หน้า ๑๖)
๕. นายเจริญ จงอยู่ รางวัลรองชนะเลิศอันดับ ๒ การแข่งขันการจัดทำหนังสือเล่มเล็กประเภทบกพร่องทางการเรียนรู้ ม.๔-ม.๖งานศิลปหัตถกรรมนักเรียน ระดับเขตพื้นที่การศึกษา ครั้งที่ ๖๗ประจำปีการศึกษา ๒๕๖๐สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต ๓๓
๖. นายเจษฎาภรณ์ กะสุรัมย์ รางวัลรองชนะเลิศอันดับ ๒ การแข่งขันการจัดทำหนังสือเล่มเล็กประเภทบกพร่องทางการเรียนรู้ ม.๔-ม.๖ งานศิลปหัตถกรรมนักเรียน ระดับเขตพื้นที่การศึกษา ครั้งที่ ๖๗ประจำปีการศึกษา ๒๕๖๐สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต ๓๓
๗.นายโชติกร รุ่งเรืองรางวัลรองชนะเลิศอันดับ ๒ การแข่งขันการจัดทำหนังสือเล่มเล็กประเภทบกพร่องทางการเรียนรู้ ม.๔-ม.๖งานศิลปหัตถกรรมนักเรียน ระดับเขตพื้นที่การศึกษา ครั้งที่ ๖๗ประจำปีการศึกษา ๒๕๖๐สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต ๓๓
๔.๒ ผลที่เกิดกับสถานศึกษา
๔.๒.๑. โรงเรียนตั้งใจวิทยาคมชนะเลิศ การคัดเลือกวิธีการปฏิบัติที่ดี (Best Practice) ของสถานศึกษาประเภท ด้านกระบวนการบริหารจัดการเรียนรวมประจำปี ๒๕๖๒ จากสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (อ้างอิง หน้า ๑๗)
๔.๒.๒ โรงเรียนตั้งใจวิทยาคม ได้รับรางวัลรองชนะเลิศ อันดับ ๒ ระดับผลงาน ดีมาก การประกวดและคัดเลือกวิธีการปฏิบัติที่ดี (Best Practice) ของสถานศึกษา ปีการศึกษา ๒๕๖๒ ประเภท การจัดการเรียนการสอนสำหรับนักเรียนพิการเรียนรวม (อ้างอิง หน้า ๑๗)
๔.๒.๓ โรงเรียนตั้งใจวิทยาคม ได้รับรางวัลรองชนะเลิศ อันดับ ๒ ระดับผลงานดีมาก การประกวดและคัดเลือกวิธีการปฏิบัติที่ดี (Best Practice) ของสถานศึกษา ปีการศึกษา ๒๕๖๒ ประเภทสื่อนวัตกรรมการจัดการเรียนการสอนสำหรับนักเรียนพิการเรียนรวม (อ้างอิง หน้า ๑๘)
๔.๔.๔ โรงเรียนตั้งใจวิทยาคม ได้รับรางวัลรองชนะเลิศ อันดับ ๒ ระดับผลงานดีมาก การประกวดและคัดเลือกวิธีการปฏิบัติที่ดี (Best Practice) ของสถานศึกษา ปีการศึกษา ๒๕๖๒ ประเภทการวิจัยและพัฒนาการจัดการศึกษาเรียนรวม (อ้างอิง หน้า ๑๘)
๔.๓ ผลที่เกิดกับชุมชน
นักเรียนพิการเรียนรวม เกิดทักษะที่สำคัญแก่นักเรียนพิการเรียนรวม มีทักษะชีวิตอยู่ในสังคม ได้อย่างมีความสุข ครูได้รับการส่งเสริมศักยภาพ พัฒนาให้สามารถคิดค้นกระบวนการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน การนำสื่อนวัตกรรมไปใช้พัฒนาผู้เรียนอย่างมีประสิทธิภาพ ผู้ปกครอง คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานมีความพึงพอใจต่อการบริหารงานสถานศึกษาที่จัดการเรียนรวม ในระดับมาก ร้อยละ ๑๐๐
๔.๔ ผลที่เกิดกับครูและบุคลากรทางการศึกษา
๑.นางสุรีย์ สมบัติ และ นางสาวสุดารัตน์ พิศโสระ โรงเรียนตั้งใจวิทยาคม ได้รับรางวัลรองชนะเลิศ อันดับ ๒ ระดับผลงาน ดีมาก การประกวดและคัดเลือกวิธีการปฏิบัติที่ดี (Best Practice) ของสถานศึกษา ปีการศึกษา ๒๕๖๒ ประเภท การจัดการเรียนการสอนสำหรับนักเรียนพิการเรียนรวม
(อ้างอิง หน้า ๑๗)
๒ .นางเฉลา สายยศ โรงเรียนตั้งใจวิทยาคม ได้รับรางวัลรองชนะเลิศ อันดับ ๒ ระดับผลงานดีมาก การประกวดและคัดเลือกวิธีการปฏิบัติที่ดี (Best Practice) ของสถานศึกษา ปีการศึกษา ๒๕๖๒ ประเภทสื่อนวัตกรรมการจัดการเรียนการสอนสำหรับนักเรียนพิการเรียนรวม (อ้างอิง หน้า ๑๘)
๓. นางสาวฉัตรชฎา ติงสะ และนางสาวสุกฤตา ทองเข็ม โรงเรียนตั้งใจวิทยาคม ได้รับรางวัลรองชนะเลิศ อันดับ ๒ ระดับผลงานดีมาก การประกวดและคัดเลือกวิธีการปฏิบัติที่ดี (Best Practice) ของสถานศึกษา ปีการศึกษา ๒๕๖๒ ประเภทการวิจัยและพัฒนาการจัดการศึกษาเรียนรวม (อ้างอิง หน้า ๑๘)
๔. นายปราบ เนื้อแก้ว ตำแหน่ง ครูชำนาญการ วิทยฐานะ ครูชำนาญการพิเศษ ครูผู้สอนนักเรียน ได้รับรางวัลระดับเหรียญทองการแข่งขันวาดภาพด้วยโปรแกรม Paint ประเภทบกพร่องทางการเรียนรู้ ม.๑-ม.๓งานศิลปหัตถกรรมนักเรียน ระดับภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ครั้งที่ ๖๙ ประจำปีการศึกษา ๒๕๖๒
๕. นางสุรีย์ สมบัติ ตำแหน่ง ครูผู้สอนนักเรียนการแข่งขันการจัดทำหนังสือเล่มเล็ก ได้รางวัลรองชนะเลิศอันดับ ๒ประเภทบกพร่องทางการเรียนรู้ ม.๔- ม.๖ งานศิลปหัตถกรรมนักเรียน ระดับเขตพื้นที่การศึกษา ครั้งที่ ๖๗ประจำปีการศึกษา ๒๕๖๐สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต ๓๓
๖. นางสาวอาทิตย์ฐาน จันทร์หอม ตำแหน่ง ครู คศ.๒ วิทยฐานะ ครูชำนาญการ ครูผู้สอนนักเรียน ได้รับรางวัลระดับเหรียญทองแดงการแข่งขันวาดภาพระบายสี ประเภทบกพร่องทางการเรียนรู้ ม.๑- ม.๓ งานศิลปหัตถกรรมนักเรียน ระดับภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ครั้งที่ ๖๘ ประจำปีการศึกษา ๒๕๖๑
๕. ปัจจัยความสำเร็จ
ผู้บริหาร คณะครู ผู้ปกครองมีความตระหนักและเห็นความสำคัญในการพัฒนานักเรียนที่มี ความต้องการจำเป็นพิเศษ และเชื่อมั่นว่า “นักเรียนทุกคนสามารถพัฒนาได้” และ โรงเรียนควรจัดสื่อหรือนวัตกรรมที่สนองต่อความต้องการจำเป็นพิเศษของนักเรียนแต่ละคน รวมทั้งมุ่งเน้นจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อคนทุกคน (Education for all) ตามปรัชญาการจัดการศึกษาแบบเรียนรวม ผู้เรียนเรียนรวมเกิดตระหนักและยอมรับในความพร้อมของตนเอง ยินดีปฏิบัติตามกระบวนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้อย่างมีความสุข ผู้ปกครอง คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานยอมรับและเข้าใจ พร้อมให้ความร่วมมือกับกิจกรรมของโรงเรียน
๖. บทเรียนที่ได้รับ
๖.๑ นักเรียนได้รับการพัฒนาศักยภาพทางด้านการเรียนรู้สติปัญญา ควบคู่ไปกับการพัฒนา ด้านอารมณ์ สังคม และคุณธรรมจริยธรรม
๖.๒ นักเรียนได้รับการพัฒนาทักษะชีวิต ประสบการณ์ต่าง ๆ จนสามารถอยู่ร่วมกันในสังคม ได้อย่างมี
ความมั่นใจและมีความสุข
๖.๓ ครูได้รับการพัฒนาและเพิ่มทักษะในการจัดการเรียนการสอนและดูแลนักเรียนพิการเรียนรวมได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
๗. การเผยแพร่/ การได้รับการยอมรับ/รางวัลที่ได้รับ
๗.๑ นายอัมพร พินะสา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ให้เกียรติเยี่ยมชม การแสดงผลงาน การประกวดและคัดเลือกวิธีการปฏิบัติที่ดี (BEST PRACTICE) ประเภทกระบวนการบริหารจัดการเรียนรวม โดยนำรูปแบบการบริหารการศึกษาแบบตั้งใจ ๕จีร์ Model ตามแนวทาง เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา อย่างมีคุณภาพซึ่งเป็นแบบอย่างให้กับโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต ๓๓ ได้เป็นอย่างดี
(อ้างอิง หน้า ๑๙)
๗.๒ ขยายผลเรื่องกระบวนการบริหารการจัดการเรียนรวม แบบ ตั้งใจ ๕จีร์ Model ตามแนวทาง “เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา”ให้กับโรงเรียนนาดีวิทยา
๗.๓ ขยายผลให้กับโรงเรียนเครือข่ายครูผู้สนใจภายในสถานศึกษาใกล้เคียงที่มีนักเรียนเรียนรวมมีความสนใจรูปแบบการดำเนินงานนำสู่การปรับใช้ในสถานศึกษา
๗.๔ เผยแพร่ข้อมูลทางเว็บไซด์ของโรงเรียน บอร์ดประชาสัมพันธ์และเอกสาร
๗.๕ โรงเรียนตั้งใจวิทยาคมชนะเลิศ การคัดเลือกวิธีการปฏิบัติที่ดี (Best Practice) ของสถานศึกษาประเภทด้านกระบวนการบริหารจัดการเรียนรวมประจำปี๒๕๖๒ จากสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (อ้างอิง หน้า ๑๗)
๗.๖ โรงเรียนตั้งใจวิทยาคม ได้รับรางวัลรองชนะเลิศ อันดับ ๒ ระดับผลงาน ดีมาก การประกวดและคัดเลือกวิธีการปฏิบัติที่ดี (Best Practice) ของสถานศึกษา ปีการศึกษา ๒๕๖๒ ประเภทการจัดการเรียนการสอนสำหรับนักเรียนพิการเรียนรวม (อ้างอิง หน้า ๑๗)
๗.๗ โรงเรียนตั้งใจวิทยาคม ได้รับรางวัลรองชนะเลิศ อันดับ ๒ ระดับผลงานดีมาก การประกวดและคัดเลือกวิธีการปฏิบัติที่ดี (Best Practice) ของสถานศึกษา ปีการศึกษา ๒๕๖๒ ประเภทสื่อนวัตกรรมการจัดการเรียนการสอนสำหรับนักเรียนพิการเรียนรวม (อ้างอิง หน้า ๑๘)
๗.๘ โรงเรียนตั้งใจวิทยาคม ได้รับรางวัลรองชนะเลิศ อันดับ ๒ ระดับผลงานดีมาก การประกวดและคัดเลือกวิธีการปฏิบัติที่ดี (Best Practice) ของสถานศึกษา ปีการศึกษา ๒๕๖๒ ประเภทการวิจัยและพัฒนาการจัดการศึกษาเรียนรวม (อ้างอิง หน้า ๑๘)