แบบรายงานนวัตกรรม/วิธีการปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practice)
ประเภทของนวัตกรรม โรงเรียนที่มีการบริหารจัดการขยะและสิ่งแวดล้อม
ชื่อวิธีการปฏิบัติที่เป็นเลิศ ตั้งใจ ๕ จีร์ สร้างสิ่งแวดล้อม มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน
โรงเรียนตั้งใจวิทยาคม สหวิทยาเขต ๒
ชื่อ – สกุล ผู้บริหาร นายชนะศึก จินดาศรี ตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนตั้งใจวิทยาคม
จำนวนครูทั้งหมด ๑๖ คน จำนวนนักเรียนทั้งหมด ๑๘๑ คน
๑. ข้อมูลความสำคัญของนวัตกรรม/วิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศ
จากรายงานของ Waste Generation and Recycling Indices 2019 ที่จัดทำโดย Verisk Maplecroft Environment Dataset ที่ศึกษาและสำรวจตัวชี้วัดกว่า 52 ตัวเกี่ยวกับการผลิตขยะ และการรีไซเคิลขยะที่เกิดขึ้นในประเทศต่างๆ ทั่วโลก พบว่า สถานการณ์ขยะโลกกำลังน่าเป็นห่วง เนื่องจากในแต่ละปี มีขยะมูลฝอยชุมชน (Municipal Solid Waste) เกิดขึ้นปีละมากกว่า 2.1 พันล้านตัน แต่มีเพียง 16% หรือราว 323 ล้านตันเท่านั้น ที่จะถูกนำไปเข้าสู่กระบวนการรีไซเคิล
(ที่มา: https://thestandard.co/garbage-situation/)
ประเทศไทยมีปริมาณขยะมูลฝอยที่เกิดขึ้นทั่วประเทศ ใน พ.ศ. 2561 ประมาณ 27.93 ล้านตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.05 จาก พ.ศ. 2560 ที่มีปริมาณ 27.37 ล้านตัน เนื่องจากการขยายตัวของชุมชมเมืองและการปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตจากสังคมเกษตรกรรมสู่สังคมเมืองในหลายพื้นที่ รวมทั้งการส่งเสริมการท่องเที่ยวของประเทศไทยทำให้มีนักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้น ในขณะที่ อัตราการเกิดขยะมูลฝอยต่อคน ประมาณ 1.15 กิโลกรัมต่อคนต่อวัน เพิ่มขึ้นจาก พ.ศ. 2560 ที่มีปริมาณ 1.13 กิโลกรัมต่อคนต่อวัน เมื่อพิจารณาในช่วงหลัง พ.ศ. 2557 พบว่า การจัดการขยะมูลฝอยมีแนวโน้มดีขึ้น หลังจากที่มีการประกาศให้การจัดการขยะมูลฝอยเป็นวาระแห่งชาติ โดยมีปริมาณขยะที่มีการนำไปใช้ประโยชน์เพิ่มขึ้น เนื่องจากรัฐบาลมีการส่งเสริมให้เกิดกลไกการคัดแยกขยะเพื่อนำกลับมาใช้ประโยชน์ให้มากที่สุด
(ที่มา: กรมควบคุมมลพิษ (2562) http://www.onep.go.th/env_data/2019) วันที่ 18 เม.ย 62 ประชุมคณะทำงานบริหารจัดการขยะมูลฝอยริมสองข้างทางถนนบริเวณเมืองสุรินทร์ เพื่อติดตามผลการดำเนินงานแก้ไขปัญหาขยะมูลฝอยที่อยู่ในพื้นที่รับผิดชอบของหน่วยงานต่างๆ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในเขตบริเวณเมืองสุรินทร์ ได้แก่ เขตเทศบาลเมืองสุรินทร์ อบต.นอกเมือง อบต.แกใหญ่ อบต.สลักได อบตงแสลงพันธ์ อบต.เฉนียง และอบต.ท่าสว่าง อำเภอเมืองสุรินทร์ พบว่า มีผู้นำมาขยะมาทิ้งริมสองข้างทางถนน ทำให้มีขยะตกค้างกระจายอยู่ทั่วไปตามริมถนนสองข้างทาง ส่งผลให้เกิดความเสื่อมโทรม เกิดความสกปรกและไม่เป็นระเบียบเรียบร้อยแก่บ้านเมือง ซึ่งนับวันยิ่งทวีความรุนแรงมากขึ้น ทั้งนี้ สาเหตุหนึ่งเกิดจากประชาชนขาดจิตสำนึก ขาดความรับผิดชอบ ทิ้งขยะไม่เป็นที่ ประกอบกับในเขตเมืองสุรินทร์ มีการเติบโตทางเศรษฐกิจ มีการเพิ่มขึ้นของจำนวนประชากรและนักท่องเที่ยวที่เดินทางเข้ามามีจำนวนเพิ่มมากขึ้น รองผู้ว่าราชการจังหวัดสุรินทร์ กล่าวว่า ปัญหาขยะมูลฝอย เป็นปัญหาที่สำคัญจะต้องได้รับการแก้ไขโดยด่วน โดยเฉพาะในเขตเทศบาลเมืองสุรินทร์ ปัจจุบันมีขยะเฉลี่ยวันละกว่า 40 ตัน ต้องขนส่งขยะไปกำจัดที่จังหวัดอุบลราชธานี
เดือนละ 1,000 -1,200 ตัน ซึ่งต้องเสียค่าใช้จ่ายในการจ้างกำจัด เดือนละกว่า 400,000 บาท ส่วนพื้นที่รอบเขตเทศบาลเมืองสุรินทร์ มีการเจริญเติบโตของหมู่บ้านจัดสรร ศูนย์การค้าและสถานประกอบการต่างๆ เกิดขึ้นใหม่จำนวนมาก พบหลายแห่งมีปัญหาขยะทิ้งตามพื้นที่สาธารณะและริมทาง ดังนั้น ทุกภาคส่วน ต้องร่วมมือดำเนินการจัดการขยะมูลฝอยชุมชนที่ต้นทางอย่างจริงจังและต่อเนื่อง โดยอปท.แต่ละแห่ง ควรเร่งการสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับขยะ ปลูกจิตสำนึก และความตระหนักในหน้าที่ความรับผิดชอบของประชาชนในการมีส่วนร่วมต่อการจัดการขยะมูลฝอยชุมชน ส่งเสริมให้เกิดจิตอาสา ที่จะช่วยกันรักษาความสะอาดของบ้านเมืองและที่อยู่อาศัย รวมทั้งปรับทัศนคติเกี่ยวกับขยะมูลฝอยให้ประชาชนเห็นว่าขยะมูลฝอย คือ วัสดุเหลือใช้ ที่สามารถนำกลับมาใช้เป็นประโยชน์ ซึ่งจะช่วยลดปริมาณขยะมูลฝอยที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพ ชุมชนและสิ่งแวดล้อม รวมทั้งช่วยลดปริมาณขยะมูลฝอยที่ต้องกำจัดที่ปลายทางให้ลดลง (ที่มา: http://www.surin.go.th/index.php/)
ดังนั้น โรงเรียนตั้งใจวิทยาคม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต ๓๓ ได้เห็นความสำคัญในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและการสร้างจิตสำนึกให้เกิดกับบุคลากรและนักเรียน โรงเรียนตั้งใจวิทยาคม และได้ศึกษาแนวคิดขยะเหลือศูนย์ (ปลอดขยะ : Zero Waste) เป็นแนวคิดในการส่งเสริมการหมุนเวียนทรัพยากรกลับมาใช้ใหม่ เพื่อให้ทรัพยากรถูกใช้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด และลดขยะให้เหลือน้อยที่สุด โดยใช้หลักการ ตั้งใจ ๕ จีร์ สร้างสิ่งแวดล้อม มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน ซึ้งเป็น Model ของโรงเรียนตั้งใจวิทยาคม ที่ใช้ในบริหารจัดการขยะและสิ่งแวดล้อมตามหลัก 3Rs (Reduce-Reuse-Recycle) รวมทั้งการออกแบบผลิตภัณฑ์ให้สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ โรงเรียนจึงได้ดำเนินการสำรวจชนิดของขยะมูลฝอยในโรงเรียน ในปีการศึกษา ๒๕๖๐ – ๒๕๖๒ และปีการศึกษา ๒๕๖๓ อย่างต่อเนื่อง ขยะส่วนใหญ่ที่พบเห็นได้ชัดเจน คือ ขยะย่อยสลายได้ (เศษใบไม้) ขยะทั่วไป และขยะรีไซเคิล จะมีเป็นจำนวนไม่มาก ซึ่งขยะส่วนใหญ่มีที่มาจากนักเรียนและบุคลากรในโรงเรียน ร้านค้าในโรงเรียน นักเรียนมีการบริโภคอาหาร นม น้ำและขนมต่าง ๆ จึงทำให้มีขยะมูลฝอยประเภท ขวดน้ำพลาสติก กล่องนม ถุงขนม เศษอาหาร ถุงกระดาษ เศษไม้เสียบลูกชิ้น หลอดดูดน้ำ และอื่น ๆ มีอยู่ในปริมาณที่ไม่มากนัก และสังเกตพฤติกรรมของนักเรียนส่วนใหญ่จะไม่นำขยะไปทิ้งลงถัง แต่จะทิ้งลงพื้นแทน เพราะเด็กสมัยนี้เป็นคนมักง่ายจนเกินไป กินที่ไหนก็ทิ้งที่นั่น จึงทำให้บริเวณโรงเรียนสกปรกมากขึ้น ในปีการศึกษา ๒๕๖๒ สภานักเรียน โรงเรียนตั้งใจวิทยาคม ครูแกนนำ และนักเรียนแกนนำ จึงได้ประชุมระดมสมองร่วมกันคิดหาวิธีการจัดการขยะจากภายในห้องเรียนสู่ภายนอกห้องเรียนอย่างยั่งยืน จึงได้ทดลองด้วยการลดปริมาณถังขยะ และไม้กวาด จากในห้องเรียนเหลือศูนย์ และนอกห้องเรียนเหลือเพียงจุดเดียว ซึ่งจากการดำเนินการทดลองใช้ประมาณ ๑ เดือน พบว่า โรงเรียนสะอาดขึ้น เนื่องจาก ไม่มีที่ทิ้งขยะในห้องเรียน จุดทิ้งขยะอยู่ไกล ทำให้นักเรียนต้องพกขยะไปทิ้งในที่ไกล นักเรียนจึงไม่ค่อยอยากเดินไป แต่จะพกขยะกลับไปคัดแยกที่บ้านแทน มีรายได้เสริมในครอบครัว พอนานเข้านักเรียนจะไม่นำขยะเข้ามาในห้องเรียน ไม่นำขยะเข้ามาในบริเวณโรงเรียน จึงทำให้โรงเรียนมีความสะอาด มีขยะลดน้อยลง โรงเรียนจึงได้ประกาศเป็นมาตรการ เรื่อง การอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม ด้านการจัดการขยะ โดยจัดจุดทิ้งขยะให้เหลือเพียงจุดเดียว ที่โรงเรียนอาหาร จัดจุดเก็บไม้กวาดเพียงจุดเดียว ที่ห้องเก็บอุปกรณ์ทำความสะอาด มีถังคัดแยกขยะเป็นประเภท ๔ ประเภท ๔ สี ถังสีเขียว ทิ้งขยะเปียกหรือขยะย่อยสลายได้ ถังสีน้ำเงิน ทิ้งขยะรีไซเคิล สีเหลือง ทิ้งขยะทั่วไป และสีแดง ทิ้งขยะอันตราย เพื่อเป็นการฝึกการทิ้งขยะ การคัดแยก ลดปริมาณขยะ และปริมาณถังขยะ ส่วนปีการศึกษา ๒๕๖๒ เป็นการต่อยอดกิจกรรม ตั้งใจไร้ขยะ สู่ชุมชน โดยจัดกิจกรรมผ้าป่าโครงการ ลดขยะพอเพียง สร้างห้องเรียนพลังปัญญา ปีการศึกษา ๒๕๖๒ โดยได้บูรณาการเข้าร่วมกับกิจกรรมเยี่ยมบ้านนักเรียน กิจกรรมนี้สอดแทรกการคัดแยกขยะโดยใช้หลัก ตั้งใจ ๕ จีร์ สร้างสิ่งแวดล้อม มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน และหลัก ๓Rs ได้ขยะ Recycle ในชุมชน และในบ้าน ซึ่งผ่านการคัดแยก นำมารวมกัน แล้วนำไปจำหน่ายเพิ่มมูลค่า จัดเป็นกองผ้าป่าหมู่บ้าน นำมาสร้างห้องเรียนและห้องปฎิบัติการ ซึ่งนับว่าเป็นการปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practice) ของโรงเรียนตั้งใจวิยาคม
๒. วัตถุประสงค์และเป้าหมายของการดำเนินงาน
๒.๑ วัตถุประสงค์
2.๑.1 เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการขยะและสิ่งแวดล้อมในโรงเรียน ลดงบประมาณเพื่อการจัดการขยะมูลฝอยและการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม
2.๑.2 เพื่อรณรงค์ให้นักเรียน ครู บุคลากร ชุมชน มีการคัดแยกขยะจากต้นทาง ส่งเสริมกระบวนการมีส่วนร่วม ในการจัดการขยะและดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม
2.๑.3 เพื่อส่งเสริมให้นักเรียน ครู บุคลากร ชุมชน ในพื้นที่ตำบลตั้งใจ เรียนรู้การใช้ประโยชน์จากขยะ เช่น โดยการทำน้ำหมักชีวภาพ การทำปุ๋ยอินทรีย์จากเศษขยะ
2.๑.4 เพื่อส่งเสริมให้มีการปรับสภาพแวดล้อมของโรงเรียน และชุมชน ให้ถูกสุขลักษณะ ลดแหล่งก่อโรค
๒.๒ เป้าหมาย
๒.๒.๑ เชิงปริมาณ
๑) นักเรียนโรงเรียนตั้งวิทยาคม จำนวน ๑๘๑ คน บุคลากรในโรงเรียน จำนวน ๑๖ คน นักการภารโรง ๑ คน และร้านค้าในโรงเรียน จำนวน ๒ ร้าน มีประสิทธิภาพในการจัดการขยะและสิ่งแวดล้อม พร้อมทั้งลดงบประมาณในการจัดการขยะมูลฝอย ร้อยละ ๘๕
๒) นักเรียน จำนวน ๑๘๑ คน ครู บุคลากร จำนวน ๑๖ คน ชุมชนในเขตบริการตำบลตั้งใจ จำนวน ๙ หมู่บ้าน มีการคัดแยกขยะจากต้นทาง ด้วยกระบวนการมีส่วนร่วม ร้อยละ ๙๐
๓) ส่งเสริมให้นักเรียน จำนวน ๑๘๑ คน ครู บุคลากร จำนวน ๑๖ คน ชุมชนในเขตบริการตำบลตั้งใจ จำนวน ๙ หมู่บ้าน เรียนรู้การใช้ประโยชน์จากขยะ เช่น โดยการทำน้ำหมักชีวภาพ การทำปุ๋ยอินทรีย์จากเศษขยะ พร้อมทั้งการปรับสภาพแวดล้อมของโรงเรียน และชุมชน ให้ถูกสุขลักษณะ ลดแหล่งก่อโรค ร้อยละ ๘๐
๒.๒.๒ เชิงคุณภาพ
๑) นักเรียน ครู บุคลาการทางการศึกษา และชุมชน มีความรู้ มีทักษะ มีความสามารถ ทัศคติที่ดี ในการจัดการขยะและสิ่งแวดล้อมเพิ่มขึ้น
๒) บ้าน วัด โรงเรียน (บวร) มีความสะอาด มีความสวยงาม ร่มรื่น น่าอยู่ และมีความปลอดภัย อย่างถาวร
๓) นักเรียน ครู บุคลาการทางการศึกษา และชุมชน มีนิสัยรักสะอาด สามารถแก้ปัญหาขยะและสิ่งแวดล้อม ติดตัวอย่างยั่งยืน
3.ขั้นตอนการพัฒนา Best Practice
“ตั้งใจ ๕ จีร์ สร้างสิ่งแวดล้อม มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน”
๓.๑ การดำเนินการตามรูปแบบ ตั้งใจ ๕ จีร์ Model เป็นภาษา “กูย” เป็นภาษาถิ่นในตำบลตั้งใจ
๑) จีร์ โหรงหรีน แปล ว่า ไปโรงเรียน (S : School Based Management : SBM)
๒) จีร์ สอน แปล ว่า ไปสอน (T : Professional Teacher)
๓) จีร์ หรีน แปล ว่า ไปเรียน ( S : Student Skills )
๔) จีร์ โซ๊ะ แปล ว่า ไปบ้าน (S : Steak holder)
๕) จีร์ รายงาน แปล ว่า ไปรายงาน ( R : Report and Research)
๓.๑.๑ จีร์ โหรงหรีน (S : School Based Management : SBM) ที่โรงเรียนตั้งใจวิทยาคม มีนโยบายการจัดการขยะและสิ่งแวดล้อม ดังนี้
๑) ผู้บริหารสถานศึกษา มีนโยบายการบริหารจัดการขยะและสิ่งแวดล้อม โดยมอบหมายให้กลุ่มบริหารทั่วไปเป็นฝ่ายดำเนินการ โดยการบูรณาการกับกิจกรรมต่างๆในโรงเรียน เช่น
– กำหนดให้ถังขยะมีจุดเดี่ยวที่โรงอาหาร
– กำหนดกิจกรรม ๕ ส.ทุกวันจันทร์ คาบเรียนที่ ๘
– กิจกรรมเน้นย้ำในการเก็บขยะบริเวณรับผิดชอบทุกทุกเช้า
๒) โรงเรียนมีการเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการขยะและสิ่งแวดล้อม ให้นักเรียน ครู ร่วมอบรม ฝึกปฎิบัติ ของทุกหน่วยงาน
๓) โรงเรียนสนับสนุนการจัดการขยะและสิ่งแวดล้อม ทุกด้าน เช่น การทำผ้าป่าขยะ จากชุมชน มาขาย ปูกระเบื้องในห้องเรียน
๓.๑.๒ จีร์ ซอน (T : Professional Teacher) ครูมาสอนที่โรงเรียนตั้งใจวิทยาคม มีกิจกรรมเพิ่มประสิทธิ และส่งเสริมการจัดการขยะและสิ่งแวดล้อมโดยการบูราณาการกับทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ กิจกรรมในโรงเรียน ดังนี้
๑) ครูได้รับการพัฒนา เข้าอบรมโครงการ โรงเรียนปลอดขยะ zero waste school ครูแกนนำ จัด กิจกรรม ๕ ส..กิจกรรมลดเวลาเรียน .กิจกรรมดูแลเขตรับผิดชอบ เก็บขยะ แยกขยะ ดูแลต้นไม้
๒) ครูร่วมกับคณะกรรมการนักเรียนประเมิน กิจกรรมการจัดการขยะและสิ่งแวดล้อม ทุกวัน
๓) ครูร่วมกับคณะกรรมการนักเรียนเน้นย้ำจุดที่การจัดการขยะและสิ่งแวดล้อม ไม่เรียบร้อยและหาแนวทางแก้ไข
ครูโรงเรียนตั้งใจวิทยาคมได้รับส่งเสริมศักยภาพและพัฒนาครูให้เป็นครูมืออาชีพมีคุณสมบัติครบตามแบบครูดี ๕ ต้อง ได้แก่ ต้องเต็มใจ ต้องเต็มหลักสูตร ต้องเต็มเวลา ต้องเต็มความสามรถ ต้องก้าวทันเทคโนโลยี
๓.๑.๓ จีร์ หรีน ( S : Student Skills ) นักเรียนมาเรียน โรงเรียนตั้งใจวิทยาคม มีกิจกรรมเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการขยะและสิ่งแวดล้อม โดยบูรณาการกับกิจกรรม ดังนี้
๑) กิจกรรมทำความสะอาดหัองเรียน เวรทำความสะอาดแต่ละวัน
๒) กิจกรรมดูแลเขตรับผิดชอบ เก็บขยะ แยกขยะ ดูแลต้นไม้ ก่อนร่วมกิจกรรมหน้าเสาธงและหลังเลิกเรียน
๓) กิจกรรม ๕ ส. Big Cleaning ประจำสัปดาห์ ทุกวันจันทร์ คาบที่ ๘ ของวัน
๔) กิจกรรมลดเวลาเรียน จิตอาสารักษาสิ่งแวดล้อม
นักเรียนได้ เรียนรู้การใช้ประโยชน์จากขยะ ทักษะ ในการเพิ่มประสิทธิภาพ การคัดแยกขยะจากต้นทาง การคิดคำนวณ สามารถแก้ปัญหาขยะและสิ่งแวดล้อม ติดตัวอย่างยั่งยืน
๓.๑. ๔ จีร์ โซ๊ะ (S : Steak holder ) บ้านนักเรียนโรงเรียนตั้งใจวิทยาคม ผู้ปกครอง ชุมชน ได้รับการส่งเสริม เพิ่มประสิทฺภาพในการจัดการขยะและสิ่งแวดล้อมโดย นักเรียนโรงเรียนตั้งใจวิทยาคมนำไปขยายผล ณ ที่บ้าน ชุมชนของตนเอง มีกิจกรรมการจัดการขยะและสิ่งแวดล้อม ดังนี้
๑) กิจกรรมเพิ่มประสิทธิภาพ การคัดแยกขยะ 3Rs ในบ้านของนักเรียนโดยการบูรณาการในการเยี่ยมบ้าน
๒) กิจกรรม การคัดแยกขยะ การบริจาคขยะ ของชุมชน เช่น ผ้าป่าขยะ โครงการ ลดขยะพอเพียง สร้างห้องเรียนพลังปัญญา
๓) กิจกรรม จิตอาสา จัดการขยะและสิ่งแวดล้อม ในวัดและในวันสำคัญของชุมชน วันมาฆบูชา,วันวิสาขบูชา ,วันอาสาฬหบูชาและงานผ้าป่า เป็นต้น
ผู้มีส่วนได้เสียในโรงเรียน คณะกรรมการสถานศึกษา ชุมชน ผู้ปกครอง องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการบริหารโรงเรียน
๓.๑.๕ จีร์ รายงาน ( R : Report and Research) กิจกรรมบริหารจัดการขยะและสิ่งแวดล้อม มีการรายงาน กิจกรรม เพื่อวัดและประเมินผลการดำเนินงานเมื่อสิ้นสุดโครงการ โดยคณะกรรมการประเมินจัดทำและรวบรวมข้อมูลเพื่อนำเสนอที่ประชุม นำมาวิจัย เพื่อพัฒนาปรับปรุงงานที่ไม่เป็นไปตามเป้าหมายและพัฒนา ต่อยอดงานที่ประสบความสำเร็จและทำการสรุปและรายงานผล ดังนี้
๑) กิจกรรมในโรงเรียน มีการสรุป ประจำสัปดาห์ มีการประเมิน เสนอผู้อำนวนการ และประชาสัมพันธ์ ปรับปรุง พัฒนา
๒) กิจกรรมร่วมกับชุมชน มีการประชาสัมพันธ์ ตามหมู่บ้าน และขอความร่วมมือ ในการคัดแยกขยะ ในการทำผ้าป่าขยะ และรายงานผลให้ชุมชนทราบเป็นระยะ
๓) การรายงานผลความก้าวหน้า พัฒนาการของนักเรียนแต่ละคนเป็นระยะเพื่อหาจุดแข็ง จุดอ่อน จุดที่ควรพัฒนาและการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
๓.๒ สร้างสิ่งแวดล้อม มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน
๓.๒.๑ มั่นคง คือ ขยะและสิ่งแวดล้อม ถูกจัดการอย่างเหมาะสมและถูกวิธี จะช่วยลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมที่กำลังถูกทำลายอย่างรุนแรงในปัจจุบัน และเมื่อสิ่งแวดล้อมดีขึ้น เมื่อบ้านของเราน่าอยู่ จะช่วยให้มีสุขภาพดี ช่วยให้มีความคิดสร้างสรรค์ ทำให้เราเห็นแก่ตัวน้อยลง จึงเป็นเหตุผลว่าทำไม “ สิ่งแวดล้อมที่ดี คือ ชีวิตที่มั่นคง ” ผนึกสรรพกำลัง ๓ หน่วยงาน รวมเป็นหนึ่งเดียว คือ บ้าน วัด โรงเรียน ตามแนวทางดังนี้
บ้าน/ชุมชน คือ สถานที่ที่นักเรียนพักอยู่อาศัย ประกอบด้วย ผู้ปกครอง ชุมชน ผู้นำชุมชน ผู้นำหมู่บ้าน หน่วยงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตำบลตั้งใจ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลตั้งใจ
วัด คือ สถานที่ขัดเกลานักเรียนให้เป็นคนดีมีคุณธรรม โรงเรียนตั้งใจวิทยาคม มีวัดป่ามฤคทายวรรณ เป็นสถานที่ฝึกขัดเกลาจิตใจนกเรียนให้เป็นคนดี มีน้ำใจ มีระเบียบวินัย มีความรับผิดชอบ มีจิตอาสา
โรงเรียน คือ นักเรียน ครู บุคลากรทางการศึกษา ผู้บริหาร นักการภารโรง แม่ค้าผู้ประกอบการค้าขายอาหาร
การประชุม มีการประชุม ๓ หน่วยงาน คือ โรงเรียน ชุมชน และวัด นำโดย ผู้บริหาร ครูแกนนำ นักเรียนแกนนำ สภานักเรียน ประธานสถานศึกษา ครูที่ปรึกษา ผู้ประกอบการร้านค้าในโรงเรียน นักการภารโรง ผู้นำชุมชน ตัวแทนผู้ปกครอง องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ และตัวแทนคณะสงฆ์ เพื่อวิเคราะห์สภาพปัญหาและหาแนวทางการแก้ปัญหา ร่วมวางแผนพัฒนาคุณภาพ โดยได้จัดทำกิจกรรม โครงงานคุณธรรม ตั้งใจวิทย์ฯ ไร้ขยะ ด้วยการลดขยะที่ต้นทาง ลดถังเพชร ถังพลอย โรงเรียนสวยสะอาด สู่การปฏิบัติที่ยั่งยืน พร้อมระบุกิจกรรมต่าง ๆ เสนอต่อคณะกรรมการสถานศึกษา เพื่อขออนุมัติกิจกรรมโครงงาน
๓.๒.๒ มั่งคั่ง คือ การเพิ่มประสิทธิภาพ การส่งเสริมการหมุนเวียนทรัพยากรกลับมาใช้ใหม่ เพื่อให้ทรัพยากรถูกใช้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด และลดขยะให้เหลือน้อยที่สุด โดยใช้หลักการ 3Rs (Reduce-Reuse-Recycle) รวมทั้งการออกแบบผลิตภัณฑ์ให้สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ อีกทั้งยังจำหน่ายเป็นรายได้
โรงเรียนตั้งใจวิทยาคมมีกิจกรรม ผ้าป่าขยะ โครงการ ลดขยะพอเพียง สร้างห้องเรียนพลังปัญญา
ปูกระเบื้องห้องเรียนและห้องปฎิบัติการ จำนวน ๘ ห้อง สำเร็จตามเป้าหมาย
๓.๒.๓ ยั่งยืน คือ มีการกำหนดนโยบายด้านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม เพื่อเป็นแนวปฏิบัติของโรงเรียน จัดทำประประกาศมาตรการ เรื่อง การอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม ด้านการจัดการขยะ โดยจัดจุดทิ้งขยะให้เหลือเพียงจุดเดียว ที่โรงเรียนอาหาร จัดจุดเก็บไม้กวาดเพียงจุดเดียว ที่ห้องเก็บอุปกรณ์ทำความสะอาด โดยใช้กิจกรรม โครงงานคุณธรรม ดังนี้
กิจกรรม โครงงานคุณธรรม
- บูรณาการสอนด้วยการนำขยะที่สามารถนำกลับมาใช้ได้ ด้วยการประดิษฐ์เป็นของเล่น และของใช้ที่มีประโยชน์ ในกิจกรรม “ลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้”
- กิจกรรม ๕ ส.ของทุกวันจันทร์ คาบที่ ๘ ,กิจกรรม “Big Cleaning Day” ซึ่งจัดให้มีการทำความสะอาด เดือนละครั้ง
- กำหนดเป็นมาตรการ การอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม ของโรงเรียนตั้งใจวิทยาคม เพื่อให้นักเรียนและบุคลากรทุกคน ได้ยึดถือเป็นแนวปฏิบัติร่วมกัน
- ให้การรณรงค์เกี่ยวกับการจัดการขยะอย่างยั่งยืนด้วยการให้ความรู้หน้าเสาธง (แนวทางการเน้นย้ำ) และทำเป็นแผ่นพับประชาสัมพันธ์ในโรงเรียน และชุมชน ด้วยหลักการ ๓R ดังนี้
Reduce – การลดปริมาณขยะ โดยการใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีบรรจุภัณฑ์สิ้นเปลือง
Reuse (การนำมาใช้ซ้ำ) เช่น ขวดแก้ว กล่องกระดาษ กระดาษพิมพ์หน้าหลัง
Recycle – การแปรสภาพและหมุนเวียนนำกลับมาใช้ได้ใหม่ โดยนำไปผ่านกระบวนการผลิตใหม่ อีกครั้ง
การร่วมตรวจสอบ ใช้การนิเทศโดยคณะผู้บริหารเพื่อนครู ผู้ปกครองนักเรียน เป็นการประเมินผลร่วมกันทุกระยะ
ประเมินและปรับปรุง เป็นการวัดและประเมินผลการดำเนินงานเมื่อสิ้นสุดโครงการ โดยคณะกรรมการประเมินจัดทำและรวบรวมข้อมูลเพื่อนำเสนอที่ประชุม นำมาวิจัย เพื่อพัฒนาปรับปรุงงานที่ไม่เป็นไปตามเป้าหมายและพัฒนา ต่อยอดงานที่ประสบความสำเร็จและทำการสรุปและรายงานผล
๔. ผลการดำเนินการ/ประโยชน์ที่ได้รับ
๔.๑ ผลที่เกิดขึ้นกับนักเรียน ครู บุคลากร เพิ่มประสิทธิภาพ การคัดแยกขยะจากต้นทาง ส่งเสริมกระบวนการมีส่วนร่วม เรียนรู้การใช้ประโยชน์จากขยะ มีจิตสำนึกในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม มีจิตสาธารณะมีนิสัยรักสะอาด สามารถแก้ปัญหาขยะและสิ่งแวดล้อม ติดตัวอย่างยั่งยืน
๔.๒ ผลที่เกิดกับสถานศึกษา โรงเรียนมีการบริหารจัดการขยะและสิ่งแวดล้อมทำให้โรงเรียนสะอาดสวยงามไม่มีมลพิษ ถูกสุขลักษณะ ลดแหล่งก่อโรค และแขกผู้มาเยือนให้คำชื่นชม ว่า โรงเรียนสะอาดน่าอยู่ ร่มรื่น มีธรรมชาติสวยงาม มีความปลอดภัยในชีวิต อย่างถาวร
๔.๓ ผลที่เกิดกับชุมชน ผู้ปกครอง ชุมชน หน่วยงานองค์กรต่าง ๆ เกิดความร่วมมือในการบริหารจัดการขยะให้เป็นระบบ ภายในโรงเรียน และนอกโรงเรียน ตามแผนกลยุทธ์ ผนึกสรรพกำลัง ๓ หน่วยงาน คือ บ้าน วัด โรงเรียน (บวร)
๔.๔ ได้เงินร่วมบุญทอดผ้าป่าขยะ เพื่อสร้างห้องเรียนพลังปัญญา คือ ปูกระเบื้องห้องเรียน ห้องปฏิบัติการ จำนวน ๙ ห้อง
๕. ปัจจัยความสำเร็จ และการได้รับการยอมรับ
๕.๑ โรงเรียนตั้งใจวิทยาคมได้รับการสนับสนุนในทุกด้านจากผู้บริหารสถานศึกษา ผู้นำหมู่บ้าน ผู้บริหารองค์กรส่วนท้องถิ่น
๕.๒ นักเรียนและครู บุคลากร ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมทุกกิจกรรมด้วยดี
๕.๓ ผู้ปกครอง ชุมชน ให้การสนับสนุนในการจัดกิจกรรมและส่งเสริมนักเรียนในการจัดการขยะและสิ่งแวดล้อม เช่น กิจกรรมทำผ้าป่าขยะ ปูกระเบื้องห้องเรียนและห้องปฎิบัติการ จำนวน ๘ ห้อง
๕.๔ โรงเรียนมีตั้งใจวิทยาคม นโยบายที่ชัดเจนและระบบการบริหารจัดการที่มีคุณภาพ
๕.๖ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต ๓๓ หน่วยงานต้นสังกัด คัดเลือกให้เป็นโรงเรียนต้นแบบโรงเรียนปลอดขยะ “Best Practice” ในระดับเขตพื้นที่การศึกษา และจัดนิทรรศการร่วมแลกเปลี่ยน การบริหารจัดการขยะ โรงเรียนปลอดขยะ (OBEC ZERO WASTE SCHOOL) ในระดับภูมิภาค โครงการการขับเคลื่อนนโยบายการจัดการขยะในสถานศึกษาสู่การปฎิบัติที่ยั่งยืน ประเทศไทยไร้ขยะ “โรงเรียนปลอดขยะสัญจร ๒๕๖๐” ณ.จังหวัดขอนแก่น ปีการศึกษา ๒๕๖๐ –๒๕๖๑
6. บทเรียนที่ได้รับ
ผลจากการปฏิบัติในครั้งนี้
๖. ๑ ผลจากปีการศึกษา ๒๕๖๑ ได้เรียนรู้การจัดการขยะและสิ่งแวดล้อม พร้อมทั้งลดงบประมาณในการจัดการขยะมูลฝอย ทำให้ บ้าน วัด โรงเรียน สะอาดสวยงาม ได้ด้วย การลดถังเพชร ถังพลอย
๖.๒ นักเรียน ผู้ปกครอง และชุม ได้ต่อยอดบุญ ในอีกหนึ่งกิจกรรม คือ ผ้าป่าขยะ โครงการ ลดขยะพอเพียง สร้างห้องเรียนพลังปัญญา ปูกระเบื้องห้องเรียนและห้องปฎิบัติการ จำนวน ๘ ห้อง สำเร็จตามเป้าหมาย ปีการศึกษา ๒๕๖๒
๖.๓ การต่อยอดกิจกรรมในปีการศึกษา ๒๕๖๓ คือ กิจกรรม เรียนรู้การใช้ประโยชน์จากขยะ เช่น โดยการทำน้ำหมักชีวภาพ การทำปุ๋ยอินทรีย์จากเศษขยะ
๖.๔ นอกจากกิจกรรมผ้าป่าขยะแล้วโรงเรียนมีนโยบาลไม่นำขยะจากข้างนอกมาฝากเป็นธนาคารขยะ เพราะทำให้เสียค่าใช้จ่ายในการจัดเก็บ
๗. การเผยแพร่/การได้รับการยอมรับ/รางวัลที่ได้รับ
ผลสำเร็จเชิงประจักษ์ในการบริหารจัดการขยะและสิ่งแวดล้อมของโรงเรียนตั้งใจวิทยาคม ดังนี้
๗.๑ รางวัลที่ได้รับ
๑) รางวัลชนะเลิศเหรียญทอง ตัวแทนเข้าประกวดระดับภาค สถานศึกษายอดเยี่ยม ประเภทมัธยมศึกษาขนาดเล็กด้านการบริหารจัดการ การประกวดหน่วยงานและผู้มีผลงานดีเด่นที่ประสพผลสำเร็จเป็นที่ประจักษ์ รางวัลทรงคุณค่า สพฐ.(OBEC AWARDS) ประจำปีการศึกษา ๒๕๖๒
๒) รางวัลชมเชย จากการประกวดคลิป VDO การรณรงค์การจัดการขยะประเภทสถานศึกษาขนาดเล็ก “โครงการรณรงค์คัดแยกขยะ ทำดีด้วยหัวใจ ลดภัยสิ่งแวดล้อม” ประจำปีการศึกษา ๒๕๖๑
๓) ได้รับคัดเลือกรางวัล “Best Practice” ในระดับเขตพื้นที่การศึกษา และจัดนิทรรศการร่วมแลกเปลี่ยน การบริหารจัดการขยะ โรงเรียนปลอดขยะ (OBEC ZERO WASTE SCHOOL) ในระดับภูมิภาค โครงการการขับเคลื่อนนโยบายการจัดการขยะในสถานศึกษาสู่การปฎิบัติที่ยั่งยืน ประเทศไทยไร้ขยะ “โรงเรียนปลอดขยะสัญจร ๒๕๖๐”
๗.๒ การได้รับการยอมรับ
๑) ได้รับการยอมรับจากชุมชนในการทำผ้าป่าขยะ ปูกระเบื้องห้องเรียนและห้องปฎิบัติการ จำนวน ๘ ห้อง ในปีการศึกษา ๒๕๖๒
๒) ได้รับการยอมรับจากหน่วยงานต้นสังกัด คัดเลือกรางวัล“Best Practice” ในระดับเขตพื้นที่การศึกษา และจัดนิทรรศการร่วมแลกเปลี่ยน การบริหารจัดการขยะ โรงเรียนปลอดขยะ (OBEC ZERO WASTE SCHOOL) ในระดับภูมิภาค โครงการการขับเคลื่อนนโยบายการจัดการขยะในสถานศึกษาสู่การปฎิบัติที่ยั่งยืน ประเทศไทยไร้ขยะ “โรงเรียนปลอดขยะสัญจร ๒๕๖๐– ๒๕๖๑”
๗.๓ การเผยแพร่
๑) การประชาสัมพันธ์ ในวารสารตั้งใจ
๒) การเผยแพร่ทางเว็บไซต์ของโรงเรียน
๓) การเผยแพร่ในการประชุมผู้ปกครอง